คำอธิบายการจัดตั้งเว็บบล็อกนี้

เนื่องด้วยบล็อกนี้ เป็นบล็อกที่จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ความรู้ทางด้านการศึกษา โดยผู้จัดทำบล็อกได้นำข้อความ บทความ หรือเรื่องราวต่างๆ อันเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่ต้องการศึกษา ค้นคว้า หาความรู้ โดยผู้จัดทำบล็อกไม่ได้ต้องการที่จะละเมิดลิขสิทธิ์ผลงานของผู้เขียนที่เป็นเจ้าของผลงานแต่ละท่าน โดยผู้จัดทำบล็อกได้เห็นถึงคุณค่าผลงานของท่าน ว่า มีคุณค่าทางการศึกษาเป็นอย่างมาก จึงได้เผยแพร่ผลงานของท่าน พร้อมกับอ้างอิงแหล่งที่มาของเจ้าของผลงานแต่ละท่าน เพื่อเป็นการให้เกียรติ
กระผมจึงขอกราบขอบพระคุณเจ้าของผลงานทุกท่าน ที่กระผมได้นำมาเผยแพร่ในครั้งนี้ และขอให้ผลงานของท่านเหล่านี้สร้างคุณประโยชน์ให้แก่วงการศึกษา และผู้ที่สนใจศึกษา ค้นคว้า หาความรู้ เป็นอย่างยิ่ง ขอคุณพระศรีรัตนตรัยจงคุ้มครองผู้มีพระคุณในครั้งนี้ให้มีความสุข ความเจริญ ยิ่งๆ ขึ้นไป ขอบพระคุณมากๆ ครับ

วันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การประเมินผลตามสภาพจริง (Authentic Assessment)

การประเมินผลตามสภาพจริง (Authentic Assessment) 

     ( Hart. 1994: 106) ได้ให้ความหมายการประเมินตามสภาพจริง(Authentic Assessment) ว่า เป็นกระบวนการเก็บรวบรวมและจัดเตรียมข้อมูลเพื่อปฏิบัติตามความต้องการที่หลากหลายของการประเมินผลโดยเน้นทั้งการสะท้อนภาพ และวัดการปฏิบัติของนักเรียนจากงาน (Task) และสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตจริง ( Real – Life)

     สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (2540: 4-5) ได้ให้ความหมายของการประเมินตามสภาพจริง ว่า เป็นการวัดและการประเมินจากสภาพที่แท้จริงของผู้เรียนที่อยู่บนพื้นฐานของเหตุการณ์จริง ในชีวิตจริง โดยยึดการปฏิบัติเป็นสำคัญ มีความสัมพันธ์กับการเรียนการสอน เน้นพัฒนาการที่ปรากฏให้เห็นทั้งในและนอกห้องเรียน มีผู้เกี่ยวข้องในการประเมินหลายฝ่าย และเกิดขึ้นได้ทุกบริบทเท่าที่จะเป็นไปได้ การประเมินผลจากสภาพจริงเป็นการประเมินที่มีลักษณะแบบไม่เป็นทางการ

     กรมวิชาการ (2539: 11) ได้ให้ความหมายของการประเมินผลตามสภาพจริงว่า  เป็นกระบวนการสังเกต การบันทึกและรวบรวมข้อมูลจากงาน และวิธีการที่นักเรียนทำ เพื่อเป็นพื้นฐานของการตัดสินใจในการศึกษาถึงผลกระทบต่อนักเรียนจะไม่เน้นเฉพาะทักษะพื้นฐานแต่จะเน้นการประเมิน ทักษะ การคิดที่ซับซ้อนในการทำงานของนักเรียน ความสามารถในการแก้ปัญหา และการแสดงออกที่เกิดจากการปฏิบัติในสภาพจริง ในการเรียนการสอนที่เน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลาง ให้เป็นผู้ค้นพบและผู้ผลิตความรู้ฝึกปฏิบัติจริง รวมทั้งพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียน เพื่อสนองจุดประสงค์ของหลักสูตร และความต้องการของสังคม

อ้างอิง
กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2539). การประเมินผลจากสภาพจริง. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์คุรุสภา ลาดพร้าว.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2540). ระบบประเมินคุณภาพและมาตรฐาน
การศึกษาแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: สำนักงานฯ.

Hart, D. (1994). Authentic Assessment : A Handbook for Educators. New York:
Assison- Wesley.from http://www.snow.utoronto.ca/learn2/greg/4294/authasmt.html.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น