คำอธิบายการจัดตั้งเว็บบล็อกนี้

เนื่องด้วยบล็อกนี้ เป็นบล็อกที่จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ความรู้ทางด้านการศึกษา โดยผู้จัดทำบล็อกได้นำข้อความ บทความ หรือเรื่องราวต่างๆ อันเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่ต้องการศึกษา ค้นคว้า หาความรู้ โดยผู้จัดทำบล็อกไม่ได้ต้องการที่จะละเมิดลิขสิทธิ์ผลงานของผู้เขียนที่เป็นเจ้าของผลงานแต่ละท่าน โดยผู้จัดทำบล็อกได้เห็นถึงคุณค่าผลงานของท่าน ว่า มีคุณค่าทางการศึกษาเป็นอย่างมาก จึงได้เผยแพร่ผลงานของท่าน พร้อมกับอ้างอิงแหล่งที่มาของเจ้าของผลงานแต่ละท่าน เพื่อเป็นการให้เกียรติ
กระผมจึงขอกราบขอบพระคุณเจ้าของผลงานทุกท่าน ที่กระผมได้นำมาเผยแพร่ในครั้งนี้ และขอให้ผลงานของท่านเหล่านี้สร้างคุณประโยชน์ให้แก่วงการศึกษา และผู้ที่สนใจศึกษา ค้นคว้า หาความรู้ เป็นอย่างยิ่ง ขอคุณพระศรีรัตนตรัยจงคุ้มครองผู้มีพระคุณในครั้งนี้ให้มีความสุข ความเจริญ ยิ่งๆ ขึ้นไป ขอบพระคุณมากๆ ครับ

วันอังคารที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

การจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามทฤษฏีคอนสตรัคติวิสต์

        สุลัดดา ลอยฟ้า และคณะ (2543) การตั้งสมมติฐานเกี่ยวกับพัฒนาการของความรู้ทางคณิตศาสตร์ ดังนี้

           1. คณิตศาสตร์เป็นสิ่งสร้างสรรค์ของมนุษย์ มนุษย์สร้างมโนมติทางคณิตศาสตร์จากกิจกรรมของการไตร่ตรอง การสนทนาและการแลกเปลี่ยนความหมายนักเพื่อใช้ในการจัดระเบียบประสบการณ์และแก้ปัญหา

           2. ในการตรวจสอบความเข้าใจในมโนมติใดมโนมติหนึ่งทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน คอนสตรัคติวิสต์จะสืบค้นว่านักเรียนเข้าถึงมโนมติด้วยวิธีใด โดยคาดหวังในความหลากหลายและการให้เหตุผลที่แปลกแตกต่างจากเดิม ความรู้ทางคณิตศาสตร์ที่สมบูรณ์ของผู้ตรวจสอบจะเป็นตัวชี้นำการสืบค้นนี้ ความมุ่งหวังของ คอนสตรัคติวิสต์ คือ การตรวจสอบการใช้จินตนาการ ภาษา คำจำกัดความหรือการอุปมาอุปไมยของนักเรียน เพื่อสร้างรูปแบบสำหรับการอธิบายการกระทำและคำพูดของนักเรียน

            3. ปัญหามีบทบาทที่สำคัญในการสร้างองค์ความรู้

            4. การแก้ปัญหาในการเรียนการสอนแบบคอนสตรัคติวิสต์เป็นกระบวนการเชิงปฏิสัมพันธ์

            5. การตอบของนักเรียนซึ่งเบี่ยงเบนจากความคาดหวังของผู้สอน ผู้สอนต้องกระตุ้นให้นักเรียนอธิบายความเชื่อของเขาและระลึกอยู่เสมอว่า ความเบี่ยงเบนให้โอกาสที่มีค่าสำหรับผู้สอนในการได้เห็นแนวคิดและระดับความรู้ความเข้าใจของนักเรียน

อ้างอิง
           สุลัดดา ลอยฟ้าและคณะ. (2543). การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ระดับ
ประถมศึกษา เอกสารประกอบการประชุมเชิงปฏิบัติการ โครงการพัฒนาคุณภาพการ
เรียนการสอนระดับประถมศึกษา. ขอนแก่น : ภาควิชาการประถมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น